Tel. +66 5394 3161   |

งานบริการสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุง

หน่วยไฟฟ้า


หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยไฟฟ้า

เขตรับผิดชอบ :

ฝั่งเชิงดอย , ฝั่งสวนดอก , ฝั่งแม่เหียะ , ศูนย์การศึกษาหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ศูนย์วิจัยลำใยบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนและ สถานีวิจัยเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน

งานไฟฟ้าแรงสูงและหม้อแปลงไฟฟ้า

  1. งานตรวจสอบระบบไฟฟ้าแรงสูงขนาด 22 kV
  2. งานซ่อมแซมแก้ไขระบบไฟฟ้าแรงสูงของมหาวิทยาลัย
  3. งานบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าแรงสูง
  4. งานตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
  5. งานซ่อมแซมแก้ไขหม้อแปลงไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
  6. งานบำรุงรักษาและอุปกรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

งานไฟฟ้าแรงต่ำ

  1. งานตรวจสอบระบบไฟฟ้าแรงต่ำของมหาวิทยาลัย
  2. งานซ่อมแซมแก้ไขระบบไฟฟ้าแรงต่ำของมหาวิทยาลัย
  3. งานบำรุงรักษาและอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าแรงต่ำของมหาวิทยาลัย
  4. งานตรวจสอบและซ่อมแซมแก้ไขมิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้า ขนาด ๓ เฟส, 1 เฟส และ ประกอบ CT ของมหาวิทยาลัย
  5. งานตรวจสอบและบำรุงรักษาซ่อมแซมระบบไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะของมหาวิทยาลัย
  6. ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะของมหาวิทยาลัย
  7. งานตรวจสอบและซ่อมแซมแก้ไขบำรุงรักษาชุดควบคุมระบบไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1 เฟสและ 3 เฟส อุปกรณ์ไฟฟ้าขอมหาวิทยาลัย
  8. งานดูแลบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยได้แก่ อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย, หน่วยโทรศัพท์, หน่วยผลิตน้ำประปาและ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัย

สถานีไฟฟ้าย่อยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หน้าที่ความรับผิดชอบของสถานีไฟฟ้าย่อยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เขตพื้นที่รับผิดชอบ :

ฝั่งเชิงดอย , ฝั่งสวนดอก

เจ้าหน้าที่ประจำสถานีไฟฟ้าย่อย มช.

  1. งานควบคุมระบบสถานีไฟฟ้า 115/22 KV 25/30 MVA
  2. งานจำหน่ายกระแสไฟฟ้าขนาดแรงดัน 22 KV ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. งานดูแลระบบ 115 KV Gas Insulated Switchgear – ABB
  4. งานดูแลระบบ Power Transformer 115/22 KV 25/30 MVA – TIRATHAI
  5. งานดูแลระบบ 22 KV Switchgear – ABB
  6. งานดูแลระบบ Ring Main Unit – ASINE
  7. งานดูแลระบบ 115/22 KV Control and Protection Panel – ABB
  8. งานดูแลระบบ Computer Substation Control System
  9. งานระบบตรวจวัดและจัดการพลังงาน SATEC
  10. งานบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  11. งานวิเคราะห์เหตุการณ์กระแสไฟฟ้าขัดข้องเบื้องต้น
  12. งานจัดทำรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบในกรณีไฟฟ้าแรงสูงขัดข้อง
  13. งานการประสานงานกับศูนย์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเขต 1 เชียงใหม่ ในกรณีที่ระบบแรงสูง 115 kV ขัดข้อง

งานบริการด้านไฟฟ้า

  1. งานตัดกิ่งไม้ใกล้แนวระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงและหม้อแปลงไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
  2. งานตัดกิ่งไม้ใกล้แนวระบบสายเมนไฟฟ้าแรงต่ำและหม้อแปลงไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
  3. งานตรวจสอบและซ่อมแซมแก้ไขระบบเครื่องทำความเย็น, เครื่องปรับอากาศ หน่วยงานอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย
  4. งานให้บริการตรวจสอบซ่อมแซมและแก้ไขเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับบุคลากรและหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย
  5. งานประมาณการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในและภายนอกของมหาวิทยาลัย
  6. งานประดับตกแต่งไฟฟ้าในงานพิธีการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและงานพิธีของหน่วยงานต่างๆ ที่จัดในบริเวณมหาวิทยาลัย
  7. งานธุรการประจำหน่วย
  8. งานจัดเวรเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานซ่อมแซมแก้ไขระบบไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง
  9. งานสำรวจและจัดเก็บข้อมูลการอนุรักษ์พลังงานของหน่วยงาน,กองต่างๆ ที่สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย
  10. งานติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย
  11. ให้บริการรถกระเช้าไฟฟ้าสำหรับซ่อมแซมไฟฟ้าให้กับ สถาบัน, คณะ, สำนักงานและ หน่วยงานอื่นๆ ที่ขึ้นกับมหาวิทยาลัย
  12. งานอื่นๆ ที่ได้รับหมายจากผู้บังคับบัญชา
  13. งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษตามคำสั่งแต่งตั้งของมหาวิทยาลัยฯ

ปฏิบัติหน้าที่เวรไฟฟ้า

  1. บริการรับคำร้องและรับแจ้งเหตุในกรณีกระแสไฟฟ้าขัดข้องภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย
  2. ควบคุมดูแลซ่อมแซมแก้ไขระบบไฟฟ้าแรงสูงขนาด 22 kVA ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย
  3. ควบคุมดูแลซ่อมแซมระบบไฟฟ้าแรงต่ำขนาด 220/380 V ของมหาวิทยาลัย
  4. งานซ่อมแซมแก้ไขหม้อแปลงไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
  5. งานตรวจสอบและซ่อมแซมระบบไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ,ทางเดินสาธารณะ ของมหาวิทยาลัยฯ
  6. งานตัดกิ่งไม้ใกล้แนวระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง,ไฟฟ้าระบบแรงต่ำและหม้อแปลงไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
  7. งานตรวจสอบและซ่อมแซมแก้ไขบำรุงรักษาชุดควบคุมระบบไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1 เฟสและ 3 เฟส อุปกรณ์ไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย
  8. ดูแลบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยได้แก่ อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย, หน่วยโทรศัพท์, หน่วยผลิตน้ำประปาและ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัย
  9. งานบริการซ่อมแซมไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟ ที่อาศัยอยู่ในภายในที่พักอาศัยในพื้นที่ของมหาวิยาลัยฯ
  10. งานอื่นๆ ที่ได้รับหมายจากผู้บังคับบัญชา

หน่วยโทรศัพท์


หน่วยโทรศัพท์ งานบริการสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุง เป็นส่วนหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีภาระหน้าที่ให้การบริการระบบโทรศัพท์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้ง ๓ พื้นที่ คือ พื้นที่ส่วนเชิงดอย พื้นที่ส่วนสวนดอก(คณะเทคนิคการแพทย์และคณะพยาบาล) และพื้นที่ส่วนแม่เหียะ โดยในปัจจุบันนี้ มีการขอใช้เลขหมายโทรศัพท์เพิ่มมากขึ้น พร้อมกับการรองรับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงได้จัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๕๘ ใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือ-อุปกรณ์ และ ปรับปรุงระบบโทรศัพท์ หน่วยโทรศัพท์จึงได้รวบรวมผลสัมฤทธิ์ของการให้บริการระบบโทรศัพท์ตามภารกิจประจำปี งบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘

ขอบข่ายงานหน่วยโทรศัพท์

หน่วยโทรศัพท์มีหน้าที่ให้บริการและพัฒนาระบบงานโทรศัพท์ให้สอดคล้องกับความต้องการของคณะสถาบัน สำนักงาน ศูนย์วิจัยฯ องค์กรในกำกับหน่วยงานที่เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยฯ อาคารที่พักอาศัย ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ยกเว้นคณะแพทย์ศาสตร์) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

  1. ฝั่งเชิงดอย 19 ตู้ชุมสาย จำนวน 4,112 เลขหมาย
  2. ฝั่งสวนดอก 1 ตู้ชุมสาย จำนวน 336 เลขหมาย
  3. ไร่ฝึกแม่เหียะ 2 ตู้ชุมสาย จำนวน 528 เลขหมาย

หน้าที่รับผิดชอบ

แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ

  1. งานระบบตู้ชุมสาย
  2. งานระบบข่ายสาย
    • งานข่ายสายตอนนอก
    • งานข่ายสายตอนใน
  3. งานเอกสาร
  4. งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ควบคุมระบบแสง สี เสียง หอประชุม มหาวิทยาลัยฯ

งานระบบตู้ชุมสาย

ระบบโทรศัพท์ของมหาวิทยาลัยปัจจุบัน ล่าสุดได้ปรับปรุงระบบโทรศัพท์ส่วนกลาง ให้เป็นตู้สาขา MX-ONE ระบบTelephony Server(TSE) เวอร์ชั่น4.1 sp4 หรือที่เรียกว่า IP-PABX โดยใช้ตู้ชุมสายยี่ห้อ Aastra ของบริษัท Flexcom ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อแบบ IP ทั้งรูปแบบ H.323 และ SIP Protocal (ระบบ gate wayช่องทางอินเตอร์เนต)

และอีกส่วนหนึ่ง ใช้เป็นระบบโทรศัพท์ระบบตู้สาขาอัตโนมัติ SPC ( STORED PROGRAM CONTROL ) แบบ MD – 110 ผลิตโดยบริษัทอิริคสันฯ แห่งประเทศสวีเดน และ แบบมีขนาดตั้งแต่ 100 เลขหมาย ถึง 26,000 ระบบชุมสายของมหาวิทยาลัย ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งแบบ ANALOG LINE และ DIGITAL LINE อุปกรณ์สวิทซ์และอุปกรณ์อื่น ๆ ใช้เทคนิคทาง DIGITAL จึงทำให้มีความคล่องตัวในการใช้งานสูง คุณลักษณะการทำงานของระบบเป็นแบบ แยกส่วน (DECENTRALIZED CONTROL) โดยแต่ละส่วนจะทำงานเป็นอิสระซึ่งเปรียบเสมือนเป็นชุมสายเล็ก ๆ ชุมสายหนึ่ง และสามารถที่จะนำแต่ละส่วนไปติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งห่างไกลกันได้ (REMOTE SWTCHING) โดยจะทำการเชื่อมต่อแต่ละส่วนด้วยระบบของ PULSE CODE MODULATION (PCM)

ระบบโทรศัพท์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งออกเป็นชุมสายย่อย จำนวน 11 ชุมสาย ดังนี้

  • ชุมสายโรงงานช่าง ขนาด 864 เลขหมาย จำนวน 6 ตู้
  • ชุมสายคณะเกษตรศาสตร์ ขนาด 512 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายคณะมนุษย์ศาสตร์ ขนาด 496 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายหอพักนักศึกษาหญิง 3 ขนาด 488 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายคณะวิศวกรรมศาสตร์ ขนาด 488 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายสถาบันวิจัยวิทยาฯ ขนาด 528 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายคณะเภสัชศาสตร์ ขนาด 256 เลขหมาย จำนวน 1 ตู้
  • ชุมสายแม่เหียะ ขนาด 528 เลขหมาย จำนวน 2 ตู้
  • ชุมสายคณะเศรษฐศาสตร์ ขนาด 256 เลขหมาย จำนวน 1 ตู้
  • ชุมสายเทคนิคการแพทย์ ขนาด 336 เลขหมาย จำนวน 1 ตู้
  • ชุมสายวิชาการนานาชาติ ขนาด 264 เลขหมาย จำนวน 1 ตู้

- วงจรเลขหมายทั้งหมด จำนวน 4,976 เลขหมาย
- วงจรเลขหมายที่ใช้แล้ว จำนวน 2,803 เลขหมาย
- วงจรเลขหมายที่ชำรุด จำนวน 1,467 เลขหมาย
- วงจรเลขหมายคงเหลือ จำนวน 706 เลขหมาย

รูปภาพประกอบ งานระบบโทรศัพท์

ชุมสายใหม่ระบบ IP PABX TSE. (อาคาร โรงงานช่าง)

ระบบBilling 2 ชุด พร้อม printer (อาคาร โรงงานช่าง)

 

โครงสร้างหน่วยโทรศัพท์

หน่วยช่างยนต์และบูรณะ


หน่วยช่างยนต์และบูรณะ มีหน้าที่ให้บริการตรวจซ่อม บำรุงรักษารถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยาน และเครื่องจักรกลต่าง ๆ และบูรณะซ่อมแซมอาคาร สิ่งก่อสร้าง รั้ว และที่พักอาศัยส่วนกลาง

หน่วยผลิตน้ำประปา


ความเป็นมาของการผลิตน้ำประปาของมหาลัยเชียงใหม่

ปี พ.ศ.2504 กรมชลประทานให้ความร่วมมือพิจารณาบริเวณสำหรับสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำในการผลิตน้ำประปาของมหาลัยเชียงใหม่ปี พ.ศ.2505 กรมชลประทานสร้างเขื่อนกั้นน้ำเชิงดอยสุเทพบริเวณจุดที่ห้วยแก้วกู่ขาวและห้วยแก้วบรรจบกันด้วยงบประมาณ 900,000 บาท เมื่อสร้างเสร็จได้อ่างที่สามารถเก็บน้ำได้ประมาณ 400,000 ลูกบาศก์เมตร และกรมชลประทานได้สร้างระบบผลิตน้ำประปาบริเวณอ่างเก็บน้ำ 1 ชุด ด้วยงบประมาณ 600,000 บาท(ปัจจุบันคือประปาชุดผลิตที่1) เมื่อสร้างเสร็จใช้งาน ต่อมาช่วงฤดูแล้งน้ำในอ่างแก้วลดระดับแห้งลงเพราะน้ำจากลำห้วยไหลเข้าอ่างแก้วน้อยลงแต่ก็ยังเพียงพอต่อการสูบขึ้นมาผลิตน้ำประปาปี พ.ศ. 2521 ระดับปริมาณน้ำในอ่างแก้วแห้งลดลงต่ำมาก ต้องสูบน้ำจากคลองชลประทานแม่แตงเข้าอ่างเก็บเพื่อการผลิตน้ำประปา หลังจากนั้นฤดูแล้งแต่ละปีต้องสูบน้ำจากคลองชลประทานแม่แตงเข้าอ่างเก็บเพื่อเพิ่มปริมาณในอ่างแก้วที่ลดระดับลง

ปี พ.ศ. 2528-2538 มีการก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพิ่มขึ้นปริมาณการใช้น้ำประปาก็เพิ่มตาม เพื่อให้การจ่ายน้ำประปาเพียงพอกับผู้ใช้น้ำประปาได้เพิ่มระบบการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยงบประมาณขอมหาวิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2540 มีการขยายเขตการศึกษาในส่วนของไร่แม่เหียะ(วิทยาเขตดอยคำ)เพื่อรองรับคณะที่จัดตั้งใหม่ได้มีการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นรองรับตามการขยายเขตการศึกษา โดยมีคณะจัดตั้งในพื้นที่ไร่แม่เหียะ ดังนี้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร, คณะสัตวแพทยศาสตร์, หอพักในกำกับ3, หอประชุม ปัจจุบันการผลิตน้ำประปามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีชุดที่ทำการผลิตน้ำประปาอยู่ 6 ชุดดังนี้

  1. ชุดผลิตประปาชุดที่ 1 ตั้งอยู่ใกล้บริเวณอ่างแก้ว
  2. ชุดผลิตประปาชุดที่ 2-4 ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านอ่างแก้ว
  3. ชุดผลิตประปาชุดที่ 5 ตั้งอยู่ใกล้บริเวณหมู่บ้านริมคลอง2
  4. ชุดผลิตประปาชุดที่ 6 ตั้งอยู่ในไร่แม่เหียะ

หน่วยผลิตน้ำประปา มีหน้าที่จัดการผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย มี 4 ชุดผลิต รวมปริมาณ มากกว่า 15,000 ลบ.ม./วัน

หน่วยประปาซ่อมบำรุง


หน่วยประปาซ่อมบำรุง มีหน้าที่จัดการซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบแนวท่อน้ำประปา และเครื่องสุขภัณฑ์ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยฯ ฝั่งเชิงดอย และไร่แมีเหียะ ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบข่ายภาระงาน

  1. งานซ่อมแซม แก้ไขระบบท่อน้ำประปาภายนอกอาคาร ได้แก่ท่อเมนส่งน้ำขนาดต่างๆก่อนเข้ามาตรวัดน้ำ
  2. งานซ่อมแซม แก้ไขระบบท่อน้ำประปาภายในอาคารในส่วนของ สำนักงานมหาวิทยาลัย
  3. งานซ่อมแซม แก้ไขระบบน้ำเสียภายในอาคารในส่วนของ สำนักงานมหาวิทยาลัย
  4. งานติดตั้งมาตรวัดน้ำภายในมหาวิทยาลัยทั้งหมด
  5. งานซ่อมแซมบำรุงรักษาสุขภัณฑ์ ในส่วนของสำนักงานมหาวิทยาลัย
  6. งานตรวจสอบการส่งคืนที่พักอาศัย ในส่วนของวัสดุสุขภัณฑ์ต่าง ๆ
  7. งานสูบน้ำดิบจากคลองชลประทานเข้าสู่อ่างเก็บน้ำอ่างแก้วช่วงฤดูแล้ง เพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปา และเพื่อปรับสภาพน้ำในอ่างแก้ว

หน่วยกำจัดน้ำเสีย


หน่วยกำจัดน้ำเสีย มีหน้าที่จัดการบำบัดน้ำเสียและระบบแนวท่อน้ำเสียของมหาวิทยาลัยฯ และไร่ฝึกแม่เหียะทั้งหมด ตลอด 24 ชั่วโมง โดยควบคุมชุดระบบน้ำเสียหลัก 3 ชุด ชุดที่ 1 ตั้งอยู่ใกล้กับคณะพยาบาลศาสตร์ ชุดที่ 2 ตั้งอยู่ในพื้นที่ไร่เกษตรแม่เหียะ และชุดที่ 3 ตั้งอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยฯ ฝั่งเชิงดอย มีระบบบ่อสูบโสโครก 8 บ่อ นอกจากนั้นต้องตรวจสอบ บำรุงรักษาเครื่องจักรกล แนวท่อน้ำเสีย บ่อสูบ บ่อพัก บ่อดักไขมัน และบ่อเกรอะ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอตลอดเวลา ชุดที่ 1 สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 10,000 Max ชุดที่ 2 บำบัดน้ำเสียได้ 1,750 Max และชุดที่ 3 บำบัดน้ำเสียได้ 10,000 Max



 

หน่วยคอมพิวเตอร์


หน่วยคอมพิวเตอร์ งานบริการสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุง มีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าสาธารณูปโภคของมหาวิทยาลัยฯ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ จากส่วนงานต่าง ๆ , ผู้ใช้ร่วม และบ้านพักอาศัยของบุคลากร ทั้งฝั่งเชิงดอย ฝั่งสวนดอก และไร่แม่เหียะ