มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา ควบคุมงานก่อสร้าง ให้แก่หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นงานที่ต้องมีความรับผิดชอบสูงและมี ปริมาณงานมาก ปัจจุบันงานออกแบบและก่อสร้างมีภาระหน้าที่จะต้องรับผิดชอบ ซึ่งอาจแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ ดังนี้
- ออกแบบโครงสร้างอาคารทุกชนิด ที่ออกแบบโดยงานออกแบบและก่อสร้าง กองอาคารสถานที่และสาธารณูปโภค
- ประมาณการงานการก่อสร้างต่าง ๆ ในงานออกแบบและก่อสร้าง
- ควบคุม ดูแล การควบคุมงานก่อสร้างอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัยฯ ทั้งหมด
- ควบคุม ดูแล งานก่อสร้างภายในมหาวิทยาลัยฯ
- งานสำรวจ รังวัด ตรวจสอบ และจัดทำแผนที่ภายในมหาวิทยาลัย ฯ
- ควบคุม ดูแล และเสนอข้อมูล เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย ฯ
- สำรวจ ออกแบบ และเขียนแบบระบบสาธารณูปโภคของมหาวิทยาลัย ฯ
- ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้างอาคารทั้งหมดในมหาวิทยาลัย ฯ
- งานปรึกษาหารือให้คำแนะนำในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ
- เข้าร่วมในกิจกรรมอันเนื่องจากการก่อสร้างในทุกคณะ สำนัก และสถาบันของ มหาวิทยาลัยฯ
การแบ่งหน่วยงานในสายงานออกแบบและก่อสร้าง
ในปัจจุบันงานออกแบบและก่อสร้างจัดแบ่งหน่วยต่าง ๆ ออกเป็น 3 หน่วย ได้แก่
หน่วยสถาปัตยกรรมรับผิดชอบงานด้านสถาปัตยกรรม อาทิ การออกแบบ เขียน แบบอาคารสิ่งปลูกสร้าง สำรวจเพื่อประกอบการออกแบบ เขียนแบบ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
1. การสำรวจเพื่อประกอบการออกแบบ เขียนแบบ
- สำรวจพื้นที่บริเวณภูมิประเทศที่ได้กำหนดให้เป็นที่ตั้งของอาคารสิ่งปลูกสร้าง นั้น ๆ
- สำรวจถึงรายละเอียดต่าง ๆ อาทิ ค่าความต่างของระดับดินโดยประมาณ ตำแหน่งของต้นไม้ สิ่งปลูกสร้างข้างเคียง ทางน้าธรรมชาติ แนวเขตที่ดิน เป็นต้น
- สำรวจอาคารสิ่งปลูกสร้างของเดิม ในกรณีที่จะต้องออกแบบปรับปรุง ต่อเติมหรือ ซ่อมแซม
- รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ (แล้วแต่กรณีย์) ไปศึกษาวิเคราะห์ถึง ความเป็นไป ได้ต่าง ๆ นำไปประกอบการออกแบบ เขียนแบบ ต่อไป
2. ออกแบบ เขียนแบบ
- ออกแบบอาคารสิ่งปลูกสร้าง งานปรับปรุง ต่อเติม และซ่อมแซม ตามข้อมูลความต้องการใช้สอยของเจ้าของโครงการ (คณะ สำนัก สถาบัน) จัดทำแบบร่าง (SKETCH DESIGN) นำเสนอต่อเจ้าของโครงการนั้น เพื่อพิจารณาว่าถูกต้องตามข้อมูลความต้องการใช้สอยของ โครงการหรือไม่ ซึ่งในการออกแบบทุกครั้งได้ยึดถืองบประมาณที่ได้จัดขอหรือจัดตั้งไว้เป็นหลัก
- เขียนแบบอาคารสิ่งปลูกสร้าง งานปรับปรุง ต่อเติม ซ่อมแซมเมื่อผ่านขั้นตอน ของการออกแบบ การเสนอแบบร่าง และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าของโครงการ (คณะ สำนัก สถาบัน) แล้วจึงนำข้อมูลเหล่านั้นไปทำการเขียนแบบก่อสร้าง (CONSTRUCTION DRAWING) ต่อไปโดย
- เขียนแบบทางสถาปัตยกรรมอาทิแปลนพื้น แปลนแสดงตำแหน่ง ปลั๊ก สวิทซ์ ดวงโคมไฟฟ้า แปลนแสดงตำแหน่งงานสุขาภิบาล รูปตั้ง (รูปด้าน) รูปตัด รูปขยายทาง สถาปัตยกรรม ครุภัณฑ์ และแผนที่แสดงที่ตั้งของโครงการ เป็นต้น
- เขียนแบบทางด้านวิศวกรรม (นำข้อมูลการกำหนดหรือการออกแบบทางด้าน วิศวกรรมจากหน่วยวิศวกรรมมาทำการเขียนแบบ) อาทิ แปลน โครงสร้าง คานพื้น แปลน โครงหลังคา รูปขยายทางวิศวกรรม ผังงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า สุขาภิบาล เครื่องกล เป็นต้น
- จัดทำรายการรายละเอียดประกอบแบบก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเป็นคู่มือ หรือแนวทางประกอบการก่อสร้าง และประกอบการพิจารณา ตรวจสอบ เปรียบเทียบของ คณะ-กรรมการตรวจการจ้าง อาทิ วิธีการทำงาน ข้อกำหนดงานก่อสร้างต่าง ๆ กำหนดการ เลือกใช้วัสดุก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น นอกเหนือจากภาระรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้นแล้ว หน่วยฯ ยังให้บริการด้านอื่น อาทิ
- ให้บริการด้านการคัดลอกแบบตามที่หน่วยงานภายในกองอาคารสถานที่และ สาธารณูปการ (งานบริการสาธารณูปการและซ่อมบำรุง งานอาคารสถานที่ งานบริการ สวัสดิการ) ได้ขอความร่วมมือไปอาทิ ผังบริเวณแสดงแนวเสาไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า ผังบริเวณ แสดงแนวท่อเมนประปา ผังบริเวณแสดงแนวคู่สายโทรศัพท์ ผังบริเวณแสดงเส้นทางสัญจร ตำแหน่งด่าน ป้อมยาม และจุดสกัดต่าง ๆ เป็นต้น
- ให้คำปรึกษาข้อแนะนำเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสถาปัตยกรรม หรือทางภูมิสถาปัตย์ การออกแบบจัดวางผิวพื้นอาคารอย่างคร่าวๆ สำหรับประกอบการจัดตั้งหรือจัดขอ งบประมาณประจาปีแก่คณะ สำนัก สถาบัน
- ร่วมเป็นกรรมการจัดซื้อ จัดจ้าง และกรรมการตรวจการจ้างในงานจ้างเหมาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
- ให้บริการด้านการตรวจสอบแบบรูปรายการ อาคารสิ่งปลูกสร้าง ที่ทางคณะสถาบัน สำนัก สถาบัน ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเอง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ มหาวิทยาลัยฯ
- ร่วมเป็นกรรมการพิจารณาการใช้ที่ดินของมหาวิทยาลัยฯให้ข้อแนะนำ การใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หน่วยวิศวกรรมรับผิดชอบงานด้านวิศวกรรม อาทิ สำรวจ ออกแบบคำนวณโครงการสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ออกแบบทางวิศวกรรมไฟฟ้า สุขาภิบาล การตรวจสอบทางด้านวิศวกรรม ฯลฯ สรุปได้ ดังนี้
1. การสำรวจรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ
- สำรวจพื้นที่บริเวณก่อสร้าง การสำรวจพื้นดิน ชั้นดิน ทางน้ำธรรมชาติ ตำแหน่งอาคารปลูกสร้างข้างเคียง ตำแหน่งต้นไม้ เพื่อประกอบการออกแบบฐานราก หรือโครงสร้าง ที่อยู่ต่ำกว่าระดับดิน
- สำรวจ รังวัด แนวเขตที่ดินของมหาวิทยาลัยฯ อาคารสิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ หรือที่ ต่อเติมขึ้นใหม่ ถนนภายในบริเวณขอบเขตที่ดินของมหาวิทยาลัยฯ ทางน้ำธรรมชาติ ค่าความต่างของระดับพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำไปจัดทำและปรับปรุงแผนที่บริเวณของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งนี้ เพื่อเอาไว้ใช้สำหรับการพิจารณาการขยายตัวทางการศึกษาการขออนุมัติใช้พื้นที่ดิน ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาการใช้พื้นที่ดินของมหาวิทยาลัยฯ และยังใช้ เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการออกแบบอาคารสิ่งปลูกสร้างของหน่วยออกแบบ เขียนแบบ
2. ออกแบบคำนวณโครงสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งหลังจากที่หน่วยสถาปัตยกรรมได้ ดำเนินการออกแบบอาคารสิ่งปลูกสร้างทางสถาปัตยกรรมแล้วเสร็จ หน่วยวิศวกรรมต้องรับ ภาระหน้าที่ ในการออกแบบโครงสร้างของอาคารสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว โดยจะต้องนำไป คำนวณน้ำหนักที่กระทำในโครงสร้างทุก ๆ อย่างที่ประกอบขึ้นเป็นตัวอาคาร อาทิ โครง หลังคา กันสาด พื้น คานรับพื้น เสา ฐานราก เสาเข็ม เป็นต้น แล้วจึงนำค่าต่าง ๆ ที่ คำนวณได้ไปทำการออกแบบขนาดหน้าตัด ขนาดการเสริมเหล็ก ฯลฯ ขององค์อาคารแต่ ละอาคาร แล้วจึงจัดส่งไปให้หน่วยสถาปัตยกรรม เป็นผู้ดำเนินการ เขียนแบบทางด้าน วิศวกรรมต่อไป อนึ่ง ในการออกแบบคำนวณโครงสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างนั้น หน่วยฯ จะต้องประสานงานกับทางหน่วยสถาปัตยกรรมค่อนข้างจะตลอดเวลา ทั้งนี้ เพื่อให้ผลงาน ออกแบบแต่ละโครงการได้ผลงานที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. ออกแบบทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
เมื่อการเขียนแบบแปลนแสดงตำแหน่งปลั๊ก ดวง โคม สวิทซ์ไฟฟ้า แผงควบคุมประจาอาคารแล้วเสร็จ ทางหน่วยฯ จะต้องดำเนินการคำนวณออกแบบขนาดสาย ขนาดของอุปกรณ์ต่าง ๆ จัดทาข้อกำหนดหรือรายละเอียดประกอบการ ทำงาน ข้อกำหนดของการเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ จัดทำผังร่างวงจรไฟฟ้า ฯลฯ แล้วจัดส่งให้ ทางหน่วยสถาปัตยกรรมดำเนินการเขียนตามที่ได้ออกแบบไว้ต่อไป
4. ออกแบบงานระบบวิศวกรรมสุขาภิบาล
ในการก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างแต่ละ โครงการของมหาวิทยาลัยฯ จะต้องมีงาน ระบบประปาสุขาภิบาลเกือบจะทุก ๆ โครงการ ดังนั้น ภาระรับผิดชอบของหน่วยฯ คือ ต้องดำเนินการออกแบบงานระบบวิศวกรรมสุขาภิบาล อาทิ การกำหนดการเดินท่อ ขนาดของท่อ การติดตั้งอุปกรณ์ประกอบต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อ ประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด หลังจากที่อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆแล้วเสร็จ และเพื่อให้ สอดคล้องกับระบบบาบัดน้าเสียของมหาวิทยาลัยฯ อีกด้วย หลังจากที่ได้ดำเนินการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมสุขาภิบาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดส่งข้อมูลการออกแบบให้ ทาง หน่วยสถาปัตยกรรมดำเนินการเขียนแบบต่อไป
5. ออกแบบด้านวิศวกรรมเครื่องกล
ตามความจำเป็นของแต่ละโครงการ อาทิระบบลิฟท์ เป็นต้น
6. ตรวจสอบโครงสร้างต่าง ๆ ของอาคารเดิม
ภายในมหาวิทยาลัยฯ ในกรณีที่เกิดรอย ร้าว การทรุดตัว การเลื่อนไถล และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรม ตามที่ได้รับการ แจ้งและขอความร่วมมือจากคณะ สำนัก สถาบัน แล้วจึงนำข้อมูลได้จากการตรวจสอบไปศึกษา วิเคราะห์ เพื่อการออกแบบ แก้ไข หรือซ่อมแซมต่อไป
7. ควบคุมงานก่อสร้างทางด้านวิศวกรรม
ของอาคารสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้การก่อสร้าง เป็นไปตามมาตรฐานของ ว.ศ.ท. (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย) และเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของแบบรูปรายการของมหาวิทยาลัย อาทิ
- ควบคุมงานก่อสร้างทางด้านวิศวกรรมของโครงการที่งานออกแบบและก่อสร้างได้ ออกแบบเอง
- ควบคุมงานก่อสร้างทางด้านวิศวกรรมของโครงการที่คณะ สำนัก สถาบันให้บริษัท เอกชนเป็นผู้ออกแบบ
- ควบคุมงานก่อสร้างทางด้านวิศวกรรมของโครงการที่มีผู้บริจาคด้านรูปแบบ
8. ร่วมเป็นกรรมการด้านต่าง ๆ
- กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาภายในมหาวิทยาลัยฯ
- กรรมการตรวจการจ้างงานจ้างเหมาภายในมหาวิทยาลัยฯ
- กรรมการพิจารณาแบบรูปรายการ โครงการที่ทางคณะ สำนัก สถาบัน จ้างให้ บริษัทเอกชนออกแบบ
1. การควบคุมงานก่อสร้าง
หน่วยควบคุมงานและประมาณราคารับผิดชอบงานด้านควบคุมงานจ้างเหมาก่อสร้าง อาคาร สิ่งปลูกสร้างภายในมหาวิทยาลัย ดำเนินการควบคุมงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของแบบรูปรายการ รายละเอียดข้อกำหนดของสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างการควบคุมงานก่อสร้างทุกโครงการที่ผ่านมาบุคลากรของหน่วยฯ ที่รับภาระรับผิดชอบควบคุม งาน ได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการปฏิบัติการควบคุมงานเพื่อให้ได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมายและ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดำเนินการควบคุมงานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มงานจนงานแล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งภาระ หน้าที่การควบคุมงานสรุปได้
2. ดำเนินการควบคุมงานจ้างเหมาก่อสร้างอาคารภายในมหาวิทยาลัย
โดยควบคุมงาน อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ควบคุมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสัญญาแบบรูปรายการ รายละเอียด อาทิการควบคุมงานเทคอนกรีต ควบคุมตรวจสอบก่อนเทคอนกรีต โดยการ ตรวจสอบการผูกเหล็กว่าถูกต้องตามแบบรูปรายการหรือไม่ การตั้งแบบหล่อคอนกรีต การตั้ง และยึดโยงค้ายันแบบหล่อว่าแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้เพียงพอหรือไม่ แบบหล่อต้องได้ ขนาด การประกอบติดตั้งต้องได้ทั้งแนวระดับ ทางราบและแนวดิ่ง ควบคุมตรวจสอบระหว่างเท คอนกรีต การเทคอนกรีตจะต้องต่อเนื่องให้มีรอยต่อน้อยที่สุดในแต่ละวันที่มีการเทคอนกรีต โดยเฉพาะในกรณีของการเทคอนกรีต หลังคาดาดฟ้ารางระบายน้ำฝนหลังคา พื้นห้องน้ำซึ่งไม่ ต้องการให้มีรอยต่อ เพื่อป้องกันปัญหาการรั่วซึมของน้ำ ซึ่งมีหลายครั้ง ที่ต้องควบคุมงานเทคอนกรีตต่อเนื่องถึงเวลากลางคืน การควบคุมในวันหยุดราชการปกติและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นต้น
3. ให้คำปรึกษาข้อแนะนาในชั้นต้น
ในกรณีเกิดข้อขัดแย้งระหว่างแบบรูปกับรายการประกอบ แบบ หรือแบบรูปรายการกับการก่อสร้างจริงแก่ทางผู้รับจ้าง
4. ประสานงานการควบคุมตรวจสอบงานจ้างเหมาก่อสร้าง
ระหว่างกรรมการตรวจการ จ้างกับผู้รับจ้าง
5. เขียนแบบและประมาณราคาเปรียบเทียบประกอบการเพิ่ม–ลด
ก่อสร้างตามมติ หรือข้อสรุปของคณะกรรมการตรวจการจ้าง ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง
6. จัดทำผลงานก้าวหน้า (PROGRESSIVE CHART)
ของงานก่อสร้าง เพื่อไว้แสดงและ ประกอบคาชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมการตรวจการจ้างทุกครั้งที่มีการประชุม
7. จัดทำรายงานประจำวัน
และสรุปผลการทำงานของผู้รับจ้างส่งต่อประธาน -กรรมการ ตรวจการจ้างทุกๆ สัปดาห์ ตั้งแต่เริ่มงานจ้างจนกระทั่งแล้วเสร็จ จัดเตรียมรายละเอียดข้อมูล การดำเนินงานของผู้รับจ้างปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง ความล่าช้าของการ ทำงานของผู้รับจ้าง สรุปผลความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง เพื่อรายงานต่อที่ประชุม คณะกรรมการตรวจการจ้าง
8. ควบคุมติดตามประเมินผลการทำงาน
เร่งรัดการทำงานของผู้รับจ้างเพื่อให้งาน ก่อสร้างแล้วเสร็จทันตามสัญญา ในการควบคุมติดตามและประเมินผลการทำงานนั้น ได้ ดำเนินการ ควบคุมโดยจัดแผนการดำเนินงานของผู้รับจ้าง (BAR CHART หรือ CPM CHART) กับการทำงานจริงเป็นหลัก คอยให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ในแบบรูป รายการก่อสร้างแก่ผู้รับจ้างตลอดเวลาที่มีการก่อสร้าง
9. ตรวจสอบและรับรองผลงานของผู้รับจ้าง
ในแต่ละงวดงานก่อสร้างที่ทางผู้รับจ้างขอส่ง มอบงานมา แล้วนำเสนอประธานคณะกรรมการตรวจการจ้าง เพื่อพิจารณาดำเนินการประชุม ตรวจรับมอบงานต่อไป
10. ควบคุมงานจ้างเหมาโดยยึดถือประกาศกระทรวงมหาดไทย
เกี่ยวกับการรักษาความ ปลอดภัยในงานก่อสร้าง นอกเหนือจากภาระรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้นแล้ว หน่วยฯ ยังให้บริการด้าน อื่น ๆ แก่คณะ สำนัก สถาบัน อาทิ
- ให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินการจัดจ้าง ปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร และ ทางคณะ สำนัก สถาบัน ดำเนินการควบคุมการจ้างเอง
- ร่วมเป็นกรรมการตรวจการจ้าง งานจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้าง
11. การประมาณราคา
หน่วยควบคุมงานและประมาณราคารับผิดชอบงานด้านประมาณราคากลางอาคารสิ่งปลูกสร้าง งานปรับปรุงซ่อมแซม และต่อเติมอาคารเดิม การประมาณราคาเพื่อจัดเตรียมงบประมาณแต่ละปี การประมาณราคาอื่น ๆ ตามที่คณะ สำนัก สถาบัน ขอความร่วมมือไป พอสรุปได้ดังนี้ ทำการประมาณราคากลางอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ทางหน่วยสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมได้ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบ กำหนดรายการรายละเอียดประกอบแบบแล้วเสร็จ ซึ่งงานประมาณ ราคานั้นเป็นงานที่ยุ่งยากต้องใช้ความละเอียด รอบคอบ ความแม่นยาที่สูงมากพอสมควรในการ ประมาณราคากลางทุก ๆ โครงการที่ได้ดำเนินการ คือ
- จัดเตรียมแบบฟอร์มสำหรับกรอกรายละเอียดการคิดราคา
- ศึกษาแบบรูปรายการอย่างละเอียดทุกขั้นตอน
- ออกไปสำรวจสถานที่ที่จะก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ เพื่อจะได้ให้เป็น ข้อมูลในการประมาณราคางานเตรียมงานหรืองานดิน
- ทำการถอดแบบแยกรายละเอียดจานวนวัสดุทางด้านวิศวกรรม อาทิ คอนกรีต เหล็ก เสริมคอนกรีต ไม้แบบ งานดินขุด ดินถม โครงหลังคา เป็นต้น
- ทำการถอดแบบแยกรายละเอียดจานวนวัสดุทางด้านสถาปัตยกรรม อาทิ ผนังก่ออิฐ ฉาบปูน เพดาน ผิวพื้น ราวบันได ประตูหน้าต่าง งานทาสี งานสุขภัณฑ์ เป็นต้น
- ทำการถอดแบบแยกรายละเอียดจานวนดวงโคมไฟฟ้า ปลั๊ก สวิทซ์ อุปกรณ์ ประกอบการเดินสาย สายไฟฟ้า มิเตอร์ เป็นต้น
- ทำการถอดแบบแยกรายละเอียดจานวนวัสดุทางด้านประปาสุขาภิบาล บ่อเกรอะ-บ่อซึม
- ถอดแบบ แยกรายละเอียดจำนวนครุภัณฑ์ และอื่น ๆ ที่ปรากฏในรูปแบบรายการ จัดทำรายละเอียดของจานวนวัสดุที่แยกรายละเอียดทั้งหมด เขียนหรือพิมพ์ลงในแบบฟอร์มประมาณการที่เตรียมไว้ ดำเนินการสืบราคาวัสดุ (ราคาต่อหน่วย) ทำการกรอกราคาแล้วจึงรวบรวม ราคาค่าก่อสร้างทั้งหมดพร้อมทั้งรวมค่าดำเนินการ กาไร และภาษี ตามขั้นตอนและข้อกำหนดของสำนักงบประมาณต่อไป ในการประมาณราคา ทางหน่วยฯ จะต้องดำเนินการตรวจสอบหลังจากที่ งานประมาณราคาไว้แล้วเสร็จทุกครั้ง
นอกเหนือจากภาระงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ทางหน่วยฯ ยังให้บริการแก่ทางคณะ สำนัก สถาบัน เกี่ยวกับข้อแนะนำให้คำปรึกษาการจัดขอจัดตั้งงบประมาณทั้งเงินรายได้และงบประมาณ แผ่นดินในหมวดค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งยังได้จัดเตรียมงบประมาณของส่วนกลางในหมวดค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง แผนการรายงานส่งสำนักงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย