ระบบจัดการข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
MENU
หน้าหลัก
ภาพรวม
ข้อมูลพรรณไม้
ข้อมูลต้นไม้
หน้าหลัก
ข้อมูลต้นไม้
ตะแบกนา
ย้อนกลับ
ข้อมูลต้นไม้ : ตะแบกนา
code :
OOP-00079
ชื่อต้นไม้ :
ตะแบกนา
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Lagerstroemia floribunda
ชื่อวงศ์ :
LYTHRACEAE วงศ์ตะแบก
ชื่ออื่น :
กระแบก (สงขลา) ตราแบกปรี้ (เขมร) ตะแบกไข่ (ราชบุรี , ตราด) บางอตะมะกอ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี) บางอมายู (มลายู-นราธิวาส) เปื๋อยด้อง เปื๋อยนา (ลำปาง) เปื๋อยหางค่าง (แพร่)
ลักษณะทั่วไป :
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลา ตรง ส่วนโคนต้นเป็นพูพอนสูงๆ ผิวเปลือกเรียบ เป็นมัน สีเทาหรือเทาอมขาว และมีรอยแผลเป็นๆ หลุมตื้นๆ ตลอดลำต้น กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงแน่น เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งใหญ่ที่แตกจากลำต้นมักชูกิ่งขึ้นข้างบนอย่างน้อยก็ทำมุมชี้ขึ้นไม่น้อยกว่า 45 องศา ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันมากน้อยตามแต่โอกาส ทรงใบรูปขอบขนานและรูปหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 12-20 ซม. เนื้อใบหนา ตัวใบมักจะม้วนขอบทั้งสองข้างขึ้นข้างบน ใบอ่อนออกสีแดงและมีขนสั้นๆ อ่อนนุ่มปกคลุม พอใบแก่จะเกลี้ยงหรือเหลือขนเพียงประปรายเท่านั้น เส้นแขนงใบ มี 8-15 คู่ ปลายเส้นจะโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ เส้นใบย่อยแบบเส้นขั้นบันไดและเส้นร่างแหพอมองเห็นได้ทางด้านท้องใบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบสั้นมาก ยาวไม่เกิน 5 มม. ดอก สีม่วงปนชมพูหรือสีกุหลาบ นานเข้าจะออกสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ๆ ตามปลายกิ่ง ช่อมักกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 30 ซม. กลีบดอกเป็นแผ่นกลมและมีก้านสั้นๆ ทำให้ดูช่ออัดแน่นมาก ส่วนดอกตูมคล้ายกับรูปลูกข่าง มีจุกสั้นๆ ติดอยู่เป็นกระจุกที่ส่วนบนสุด โคนกลีบฐานดอกติดกันเป็นรูปกรวยหงายหรือรูปถ้วย มีสันตามยาวประมาณ 12 สัน มีขนสั้นๆ สีน้ำตาลเหลืองคลุมแน่นทางด้านนอก ส่วนด้านในมีขนประปราย รังไข่ รูปไข่ มีขนคลุมแน่น ภายในแบ่งเป็น 6 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนมาก ผล เป็นชนิดผลแห้ง รูปรีๆ ยาวไม่เกิน 2 ซม. มีขนคลุมประปราย พอแก่จัดจะแตกทางด้านบนเป็น 6 เสี่ยง เมล็ดเล็ก มีปีกโค้งๆ ทางด้านบนหนึ่งปีก
ระยะการออกดอกออกผล เริ่มผลัดใบระหว่างเดือน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ เวลาผลัดใบมักจะทิ้งใบหมด ใบอ่อนจะผลิออกมาใหม่เต็มต้นเสียก่อน จึงจะเริ่มออกช่อดอกระหว่างเดือน มิถุนายน - ตุลาคม ผลแก่จะแก่จัดในเดือน มีนาคม
การกระจายพันธุ์ :
ตะแบกนาเป็นพรรณไม้พื้นของป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม และตามท้องนาทั่วทุกภาคของประเทศ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 20-300 เมตร การขยายพันธุ์นิยมใช้เมล็ดเพาะ
ประโยชน์ :
เนื้อไม้ สีน้ำตาลถึงน้ำตาลอมเทา เนื้อละเอียด แข็ง แต่ใจกลางมักผุเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการรับน้ำหนักมากๆ เช่น เสา กระดานพื้น รอด ตง คาน และทำเครื่องใช้ทางการเกษตร เป็นต้น
อ้างอิง :
https://sites.google.com/site/swnphvssastrsanpatxngwithyakhm/khi-xmul-phanth-mi/tabaek-na
พิกัด :
Latitude :18.8067309, Longitude :98.9541892
Get location
สถานที่ :
สำนักงานมหาวิทยาลัย
ความสูง :
15-20 เมตร
ขนาดลำต้น (เส้นผ่านศูนย์กลาง) :
10-15 นิ้ว
สภาพปัจจุบัน :
สมบูรณ์ดี
คุณลักษณะ :
- อยู่ในบัญชี ไม้หวงห้าม/หายาก (Forbid&Rare)
- เป็นสมุนไพร (Herb)
- มีดอกสวยงาม (Flower)
หมายเหตุ :
QR Code :
: 14808
พิกัดที่ตั้ง
Back to top
×
Modal with Dynamic Content