หน่วยงาน
- หน่วยไฟฟ้า
- หน่วยโทรศัพท์
- หน่วยช่างยนต์และบูรณะ
- หน่วยผลิตน้ำประปา
- หน่วยประปาซ่อมบำรุง
- หน่วยกำจัดน้ำเสีย
- หน่วยคอมพิวเตอร์
หน่วยผลิตน้ำประปา
ความเป็นมาของการผลิตน้ำประปาของมหาลัยเชียงใหม่
ปี พ.ศ.2504 กรมชลประทานให้ความร่วมมือพิจารณาบริเวณสำหรับสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำในการผลิตน้ำประปาของมหาลัยเชียงใหม่ปี พ.ศ.2505 กรมชลประทานสร้างเขื่อนกั้นน้ำเชิงดอยสุเทพบริเวณจุดที่ห้วยแก้วกู่ขาวและห้วยแก้วบรรจบกันด้วยงบประมาณ 900,000 บาท เมื่อสร้างเสร็จได้อ่างที่สามารถเก็บน้ำได้ประมาณ 400,000 ลูกบาศก์เมตร และกรมชลประทานได้สร้างระบบผลิตน้ำประปาบริเวณอ่างเก็บน้ำ 1 ชุด ด้วยงบประมาณ 600,000 บาท(ปัจจุบันคือประปาชุดผลิตที่1) เมื่อสร้างเสร็จใช้งาน ต่อมาช่วงฤดูแล้งน้ำในอ่างแก้วลดระดับแห้งลงเพราะน้ำจากลำห้วยไหลเข้าอ่างแก้วน้อยลงแต่ก็ยังเพียงพอต่อการสูบขึ้นมาผลิตน้ำประปาปี พ.ศ. 2521 ระดับปริมาณน้ำในอ่างแก้วแห้งลดลงต่ำมาก ต้องสูบน้ำจากคลองชลประทานแม่แตงเข้าอ่างเก็บเพื่อการผลิตน้ำประปา หลังจากนั้นฤดูแล้งแต่ละปีต้องสูบน้ำจากคลองชลประทานแม่แตงเข้าอ่างเก็บเพื่อเพิ่มปริมาณในอ่างแก้วที่ลดระดับลง
ปี พ.ศ. 2528-2538 มีการก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพิ่มขึ้นปริมาณการใช้น้ำประปาก็เพิ่มตาม เพื่อให้การจ่ายน้ำประปาเพียงพอกับผู้ใช้น้ำประปาได้เพิ่มระบบการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยงบประมาณขอมหาวิทยาลัย
ปี พ.ศ. 2540 มีการขยายเขตการศึกษาในส่วนของไร่แม่เหียะ(วิทยาเขตดอยคำ)เพื่อรองรับคณะที่จัดตั้งใหม่ได้มีการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นรองรับตามการขยายเขตการศึกษา โดยมีคณะจัดตั้งในพื้นที่ไร่แม่เหียะ ดังนี้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร, คณะสัตวแพทยศาสตร์, หอพักในกำกับ3, หอประชุม ปัจจุบันการผลิตน้ำประปามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีชุดที่ทำการผลิตน้ำประปาอยู่ 6 ชุดดังนี้
- ชุดผลิตประปาชุดที่ 1 ตั้งอยู่ใกล้บริเวณอ่างแก้ว
- ชุดผลิตประปาชุดที่ 2-4 ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านอ่างแก้ว
- ชุดผลิตประปาชุดที่ 5 ตั้งอยู่ใกล้บริเวณหมู่บ้านริมคลอง2
- ชุดผลิตประปาชุดที่ 6 ตั้งอยู่ในไร่แม่เหียะ
หน่วยผลิตน้ำประปา มีหน้าที่จัดการผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย มี 4 ชุดผลิต รวมปริมาณ มากกว่า 15,000 ลบ.ม./วัน


